2551-08-28

แบบฝึกหัดบทที่ 4


แบบฝึกหัดบทที่ 4


1. มนุษยสัมพันธ์มีความหมายอย่างไร มีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่งเพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษยสัมพันธ์อันดีและมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษยสัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกันร่วมมือกันประสานงาน ช่วนเหลือ แบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษยสัมพันธ์ไม่ดีบุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือ ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกันส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรืกลุ่มสังคมนั้นๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุขซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
2. กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดีมีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย บุคคลส่วนใหญ่มักต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยจะสนองความต้องการนี้ได้ โดยที่ทุกคนต่างมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนใหญ่
2) มีความไว้วางใจและเชื่อในความสามารถซึ่งกันและกัน บุคคลทั่วไปมักต้องการมักต้องการความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกันทุกคนควรต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงานไม่เข้าไปก้าวก่าย ถ้าเขาไม่ขอความช่วยเหลือ การก้าวก่ายเกินหน้าที่มักก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
3) มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน มนุษย์ทุกคนมักต้องการความชัดเจนในงานและต้องการความสบายใจในการอยู๋ร่วมกันด้วย ซึ่งการติด่อสื่อสารที่ดีนอกจากช่วยสร้างความเข้าใจในงานร่วมกันแล้วยังช่วยเสริมความสัมพันธ์ส่วนตัวด้วย ถ้ากลุ่มมีการติดต่อสื่อสารที่ดีจะมีส่วนส่งเสริมทั้งประสิทธิภาพของงานและการอยู่ร่วมกัน ในกลุ่มทำงานที่ดีนั้นมักใช้การสื่อสารสองทางหรือหลายทางมากกว่าสื่อสารทางเดียว คือให้มีการตอบโต้ อภิปราย แสดงความคิดเห็น หรือซักถามข้อสงสัยร่วมกันมากกว่าที่จะรับคำสั่งหรือรับฟังความคิดอยู่ข้างเดียว ขณะเดียวกันในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือเขียนให้เป็นไปตามทางสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีต่อกันและกัน
4) มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม ในการทำงานและอยู่ร่วมกันในกลุ่ม ถ้าทุกคนพร้อมต่อการเป็นผู้ให้ย่อมทำให้เกิดความสุขในกลุ่มได้ การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จัดว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจ พึงพอใจและเกดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม
5) มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ การทำงานร่วมกันโดยหลายคนนั้น ถ้ามีทีมงานที่เหมาะสม คือ มีระบบงานที่ดี มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดีมักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
3. แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) การสร้างอัตตมโนทัศน์ที่ตรงตามความเป็นจริง คำว่า อัตตมโนทัศน์ ซึ่งบางคนเรียกว่า ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองนี้ โรเจอร์ ซึ่งเป็นผู้นำของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม กล่าวว่าเป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตนเองขอลบุคคล ความคิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิตที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง อัตตมโนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึงซึ่งมิได้เจาะจงจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไม่เจาะจงเป็ฯคนสูงมาก อ้วนมาก โกรธง่าย หงุดหงิด หากแต่เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด เช่นความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และร่างกายทั้งหมด กิจกรรมทุกอย่างที่ปฏิบัติ ทุกสิ่งทั่ปฏิบัติและล้มเหลว รวมทั้งความรู้สึกของบุคคลที่ว่าบุคคลอื่นมองเขาอย่างไร
แต่อย่างไรก็ตามมีสิงที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บุคคลแต่ละคนมิได้มีอัตตโนทัศน์ที่ถูกต้องเที่ยงแท้เสมอไป บางครั้งมีการเข้าใจตนเองผิดจากประสบการณ์บางประการ โดยอาจจะมองบวกมากไปเกี่ยวกับตนเอง เช่น มีเสน่ห์แรง ทำงานเก่ง สติปัญญาเป็นเลิศ หรืออาจจะมองลบเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาจคิดว่าตนเองพูดไม่เป็น อ่อนแองุ่นง่าน คนบางคนมองแต่แง่ดีของตนเองไม่ยอมรับของเสีย บางคนมองแต่ข้อเสียไม่ยอมรับข้อดี แท้ที่จริงแล้วบุคคลมักจะมีข้อดีและข้อจำกัดในตนเอง ซึ่งบุคคลควรที่จะพยายามสร้างอัตตมโนทัศน์ให้ตรงตามความเป็นจริง โดยหมั่งสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ
2) การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดี นักจิตวิทยาส่วนใหญ่โดยมากเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มีความเห็นว่าเรื่องของมนุษยสัมพันธ์นั้นควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรก ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเอง ถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตนเองในทางที่ดี มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดี
3) การปฎิบัติต่อผู้อื่นทางที่ดี จอห์น บี.วัตสัน ได้กล่าวให้เห็นอิทธิพลของสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมหรือการกระทำของตนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง “พฤติกรรมนิยม” ความว่า “จงนำเด็กทารกมาใช้ข้าพเจ้าเลี้ยงดูสัก 1 โหล ซึ่งเป็นเด็กที่สมบูรณ์ลักษณะปกติ ข้าพเจ้ารับรองว่าจะสามารถสร้างให้เขาเหล่านั้นเป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ อาจจะเป็นนายแพทย์ นักกฎหมาย ศิลปิน ผผู้นำทางการค้า หรือแม้กระทั่งขอทานและหัวขโมย ทั้งนี้โยไม่สนใจว่าบรรพบุรุษของเด็กเหล่านั้นมีความสามารถ อาชีพ หรือเชื้อชาติใดมาก่อน” จากคำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นความเชื่อของนักจิตวิทยาในด้านพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลว่าบุคคลจะมีพฤติกรรมโน้มเอียงไปตามสิ่งเร้าหรือสภาพแวดล้อม ถ้าได้รับแรงกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมในแง่ดีพฤติกรรมก็ออกมาดี และถ้าแรงกระตุ้น
3.1) ให้ ความสนใจเพื่ร่วมงาน คือบุคคลส่วนใหญ่ชออบให้ผู้อื่นสนใจ ดังนนั้นจึงควรให้ความสนในเพื่อนร่วมงานโดยการทักทายปราศรัย ถามในสิ่งดีๆ ของเพื่อนร่วมงาน
3.2) ยิ้มแย้ม คือการยิ้มของบุคคลที่ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง มักแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชื่น ชอบพอ รักใคร่ จึงเห็นได้ว่าการยิ้มเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพโดนไม่จำกัดสถานะ เพศ
3.3) แสดงการจำได้ วิธีแสดงการจำได้ เช่น จำชื่อ จำเหตุการณ์เรื่องราวที่ดีๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกัน จำวันเกิด
3.4) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.5) แสดงความมีน้ำใจ
3.6) แสดงความชื่นชมยินดี
4) การพัฒนาติดต่อสื่อสาร วิธีการทีบุคคลติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น มักเป็นเครื่องตัดสินความสามารถในการสร้างสื่อสัมพันธ์ของบุคคลว่าจะนำไปสู่ความใกล้ชิดกับผุ้อื่นมากขึ้นหรือคงเดิมหรือยิ่งทำให้ห่างเหินกับเขาไปและเมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติอย่างไรในการติดต่อสื่อสารกับคนๆ หนึ่ง ก็มักจำทำอย่างนั้นไปเรื่อยกับคนอื่รจนในที่สุดกลายเป็นความเคยชิน กลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัว บุคคลควรฝึกฝนตนเองให้ทำให้ได้และเมื่อทำได้แล้วกับคนๆ หนึ่งก็มักมีแนวโน้มในการนำไปใช้กับบุคคลอื่นๆ ต่อไป การฝึกฝนตนเองดังกล่าวอาจเริ่มได้โดยศึกษาหลักปฎิบัติเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น แล้วหมั่นฝึกตนเองให้ทำตามหลักดังกล่าวทีละเล็กทีละน้อยจยกลายเป็นความเคยชิน
4.1) สนใจเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับผู้ที่ติดต่อสื่อสาร
4.2) หลีกเลี่ยงการพูดถึง”คน” เมื่อสนทนาเรื่องภายนอกตัว
4.3) ตั้งคำถามไม่เจาะจง
4.4) ใช้คำถามเชิงอธิบายแทนการสั่งสอนหรือแนะนำ
4.5) ใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วยสรรพนามบุรุษที่สองเมื่อพูดถึงสิ่งดี
4.6) ใช้คำพูดเปิดเผยตนเองเพื่อแสดงความจริงใจและพร้อมเป็นมิตร

4. การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็นกี่ระดับอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
1) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา
- ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามการแก่ฐานะ
- รับคำวิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา ความสงบหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์หรือโต้ถียง
- ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อถือ
- ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคำสั่งขององค์การ เพื่อเป็นการให้เกียรติและยอมรับผู้บังคับบัญชา
- เสนอข้อคิดเห็นโดยสุภาพอ่อนน้อม เมื่อผู้บังคับบัญชาถามความเห็น
- หลีกเลี่ยงการรบกวนผู่บังคับบัญชาด้วยเรื่องเล็กน้อยหยุมหยิม
2) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกัน
- มองเพื่อนร่วมงานในแง่ดีให้ความจริงใจให้ความช่วยเหลือ
- หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน
- เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุย ควรพยายามเข้าหาเพื่อนร่วมงานก่อนเพื่อให้เกียรติให้ความสำคัญ
- หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร อย่าปลีกตัวตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย หรือวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานลับหลัง
3) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา
- เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเจริญก้าวหน้าในอาชีพ โยอาจส่งไปอบรม ส้มมนา ค้นคว้าวิจัย
- สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนได้ทำงานที่เหมาะสมแก่ตนทั้งด้านความสามารถ และบุคคลิกภาพ เพื่อให้ทำงานได้ด้วยดี และมีความสุขในงาน
- สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน เมื่อต้องการให้ทำงานใดหรือปฏิบัติอย่างไร และหลีกเลี่ยงการสื่อสารทางเดียวให้มากที่สุด
- หลีกเลี่ยงการแสดงความอยากได้ หรือการเบียดเบียนผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีรายได้น้อย กว่าอยู่แล้ว หากแต่ควรทำตัวเป็นผู้ให้โอกาสเล็กๆ น้อยๆ ตามสมควรและโดนเสมอภาค




































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น: