2551-08-28

แบบฝึกหัดบทที่ 4


แบบฝึกหัดบทที่ 4


1. มนุษยสัมพันธ์มีความหมายอย่างไร มีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่งเพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษยสัมพันธ์อันดีและมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษยสัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกันร่วมมือกันประสานงาน ช่วนเหลือ แบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษยสัมพันธ์ไม่ดีบุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือ ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกันส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรืกลุ่มสังคมนั้นๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุขซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
2. กลุ่มงานที่มีความสัมพันธ์อันดีมีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) มีการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย บุคคลส่วนใหญ่มักต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตยจะสนองความต้องการนี้ได้ โดยที่ทุกคนต่างมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่องาน รับฟังความคิดเห็นของกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนใหญ่
2) มีความไว้วางใจและเชื่อในความสามารถซึ่งกันและกัน บุคคลทั่วไปมักต้องการมักต้องการความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกันทุกคนควรต้องให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ให้เกียรติและเชื่อถือในความสามารถของเพื่อนร่วมงานไม่เข้าไปก้าวก่าย ถ้าเขาไม่ขอความช่วยเหลือ การก้าวก่ายเกินหน้าที่มักก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
3) มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน มนุษย์ทุกคนมักต้องการความชัดเจนในงานและต้องการความสบายใจในการอยู๋ร่วมกันด้วย ซึ่งการติด่อสื่อสารที่ดีนอกจากช่วยสร้างความเข้าใจในงานร่วมกันแล้วยังช่วยเสริมความสัมพันธ์ส่วนตัวด้วย ถ้ากลุ่มมีการติดต่อสื่อสารที่ดีจะมีส่วนส่งเสริมทั้งประสิทธิภาพของงานและการอยู่ร่วมกัน ในกลุ่มทำงานที่ดีนั้นมักใช้การสื่อสารสองทางหรือหลายทางมากกว่าสื่อสารทางเดียว คือให้มีการตอบโต้ อภิปราย แสดงความคิดเห็น หรือซักถามข้อสงสัยร่วมกันมากกว่าที่จะรับคำสั่งหรือรับฟังความคิดอยู่ข้างเดียว ขณะเดียวกันในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือเขียนให้เป็นไปตามทางสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีต่อกันและกัน
4) มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม ในการทำงานและอยู่ร่วมกันในกลุ่ม ถ้าทุกคนพร้อมต่อการเป็นผู้ให้ย่อมทำให้เกิดความสุขในกลุ่มได้ การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน จัดว่าเป็นการให้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ซาบซึ้งใจ พึงพอใจและเกดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้ในขอบเขตที่เหมาะสม
5) มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ การทำงานร่วมกันโดยหลายคนนั้น ถ้ามีทีมงานที่เหมาะสม คือ มีระบบงานที่ดี มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่และมีขอบข่ายงานที่กำหนดเด่นชัด การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และมีการร่วมมือประสานงานกันเป็นอย่างดีมักส่งผลให้งานสำเร็จและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย
3. แนวทางในการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) การสร้างอัตตมโนทัศน์ที่ตรงตามความเป็นจริง คำว่า อัตตมโนทัศน์ ซึ่งบางคนเรียกว่า ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองนี้ โรเจอร์ ซึ่งเป็นผู้นำของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม กล่าวว่าเป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตนเองขอลบุคคล ความคิดความรู้สึกดังกล่าวเป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิตที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง อัตตมโนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึงซึ่งมิได้เจาะจงจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ไม่เจาะจงเป็ฯคนสูงมาก อ้วนมาก โกรธง่าย หงุดหงิด หากแต่เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด เช่นความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และร่างกายทั้งหมด กิจกรรมทุกอย่างที่ปฏิบัติ ทุกสิ่งทั่ปฏิบัติและล้มเหลว รวมทั้งความรู้สึกของบุคคลที่ว่าบุคคลอื่นมองเขาอย่างไร
แต่อย่างไรก็ตามมีสิงที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ บุคคลแต่ละคนมิได้มีอัตตโนทัศน์ที่ถูกต้องเที่ยงแท้เสมอไป บางครั้งมีการเข้าใจตนเองผิดจากประสบการณ์บางประการ โดยอาจจะมองบวกมากไปเกี่ยวกับตนเอง เช่น มีเสน่ห์แรง ทำงานเก่ง สติปัญญาเป็นเลิศ หรืออาจจะมองลบเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาจคิดว่าตนเองพูดไม่เป็น อ่อนแองุ่นง่าน คนบางคนมองแต่แง่ดีของตนเองไม่ยอมรับของเสีย บางคนมองแต่ข้อเสียไม่ยอมรับข้อดี แท้ที่จริงแล้วบุคคลมักจะมีข้อดีและข้อจำกัดในตนเอง ซึ่งบุคคลควรที่จะพยายามสร้างอัตตมโนทัศน์ให้ตรงตามความเป็นจริง โดยหมั่งสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ
2) การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดี นักจิตวิทยาส่วนใหญ่โดยมากเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มีความเห็นว่าเรื่องของมนุษยสัมพันธ์นั้นควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรก ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเอง ถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตนเองในทางที่ดี มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดี
3) การปฎิบัติต่อผู้อื่นทางที่ดี จอห์น บี.วัตสัน ได้กล่าวให้เห็นอิทธิพลของสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมต่อพฤติกรรมหรือการกระทำของตนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง “พฤติกรรมนิยม” ความว่า “จงนำเด็กทารกมาใช้ข้าพเจ้าเลี้ยงดูสัก 1 โหล ซึ่งเป็นเด็กที่สมบูรณ์ลักษณะปกติ ข้าพเจ้ารับรองว่าจะสามารถสร้างให้เขาเหล่านั้นเป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ อาจจะเป็นนายแพทย์ นักกฎหมาย ศิลปิน ผผู้นำทางการค้า หรือแม้กระทั่งขอทานและหัวขโมย ทั้งนี้โยไม่สนใจว่าบรรพบุรุษของเด็กเหล่านั้นมีความสามารถ อาชีพ หรือเชื้อชาติใดมาก่อน” จากคำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นความเชื่อของนักจิตวิทยาในด้านพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลว่าบุคคลจะมีพฤติกรรมโน้มเอียงไปตามสิ่งเร้าหรือสภาพแวดล้อม ถ้าได้รับแรงกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมในแง่ดีพฤติกรรมก็ออกมาดี และถ้าแรงกระตุ้น
3.1) ให้ ความสนใจเพื่ร่วมงาน คือบุคคลส่วนใหญ่ชออบให้ผู้อื่นสนใจ ดังนนั้นจึงควรให้ความสนในเพื่อนร่วมงานโดยการทักทายปราศรัย ถามในสิ่งดีๆ ของเพื่อนร่วมงาน
3.2) ยิ้มแย้ม คือการยิ้มของบุคคลที่ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง มักแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชื่น ชอบพอ รักใคร่ จึงเห็นได้ว่าการยิ้มเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพโดนไม่จำกัดสถานะ เพศ
3.3) แสดงการจำได้ วิธีแสดงการจำได้ เช่น จำชื่อ จำเหตุการณ์เรื่องราวที่ดีๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกัน จำวันเกิด
3.4) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.5) แสดงความมีน้ำใจ
3.6) แสดงความชื่นชมยินดี
4) การพัฒนาติดต่อสื่อสาร วิธีการทีบุคคลติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น มักเป็นเครื่องตัดสินความสามารถในการสร้างสื่อสัมพันธ์ของบุคคลว่าจะนำไปสู่ความใกล้ชิดกับผุ้อื่นมากขึ้นหรือคงเดิมหรือยิ่งทำให้ห่างเหินกับเขาไปและเมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติอย่างไรในการติดต่อสื่อสารกับคนๆ หนึ่ง ก็มักจำทำอย่างนั้นไปเรื่อยกับคนอื่รจนในที่สุดกลายเป็นความเคยชิน กลายเป็นลักษณะนิสัยประจำตัว บุคคลควรฝึกฝนตนเองให้ทำให้ได้และเมื่อทำได้แล้วกับคนๆ หนึ่งก็มักมีแนวโน้มในการนำไปใช้กับบุคคลอื่นๆ ต่อไป การฝึกฝนตนเองดังกล่าวอาจเริ่มได้โดยศึกษาหลักปฎิบัติเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น แล้วหมั่นฝึกตนเองให้ทำตามหลักดังกล่าวทีละเล็กทีละน้อยจยกลายเป็นความเคยชิน
4.1) สนใจเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับผู้ที่ติดต่อสื่อสาร
4.2) หลีกเลี่ยงการพูดถึง”คน” เมื่อสนทนาเรื่องภายนอกตัว
4.3) ตั้งคำถามไม่เจาะจง
4.4) ใช้คำถามเชิงอธิบายแทนการสั่งสอนหรือแนะนำ
4.5) ใช้ประโยคที่เริ่มต้นด้วยสรรพนามบุรุษที่สองเมื่อพูดถึงสิ่งดี
4.6) ใช้คำพูดเปิดเผยตนเองเพื่อแสดงความจริงใจและพร้อมเป็นมิตร

4. การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็นกี่ระดับอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การวางตนตามสถานะและบทบาทในองค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
1) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา
- ยกย่องผู้บังคับบัญชาตามการแก่ฐานะ
- รับคำวิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา ความสงบหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์หรือโต้ถียง
- ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเชื่อถือ
- ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และคำสั่งขององค์การ เพื่อเป็นการให้เกียรติและยอมรับผู้บังคับบัญชา
- เสนอข้อคิดเห็นโดยสุภาพอ่อนน้อม เมื่อผู้บังคับบัญชาถามความเห็น
- หลีกเลี่ยงการรบกวนผู่บังคับบัญชาด้วยเรื่องเล็กน้อยหยุมหยิม
2) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้อยู่ในระดับเดียวกัน
- มองเพื่อนร่วมงานในแง่ดีให้ความจริงใจให้ความช่วยเหลือ
- หลีกเลี่ยงการผลักภาระรับผิดชอบของตนไปให้เพื่อนร่วมงาน
- เมื่อมีปัญหาต้องพูดคุย ควรพยายามเข้าหาเพื่อนร่วมงานก่อนเพื่อให้เกียรติให้ความสำคัญ
- หาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร อย่าปลีกตัวตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย หรือวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนร่วมงานลับหลัง
3) การวางตนในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา
- เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเจริญก้าวหน้าในอาชีพ โยอาจส่งไปอบรม ส้มมนา ค้นคว้าวิจัย
- สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนได้ทำงานที่เหมาะสมแก่ตนทั้งด้านความสามารถ และบุคคลิกภาพ เพื่อให้ทำงานได้ด้วยดี และมีความสุขในงาน
- สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน เมื่อต้องการให้ทำงานใดหรือปฏิบัติอย่างไร และหลีกเลี่ยงการสื่อสารทางเดียวให้มากที่สุด
- หลีกเลี่ยงการแสดงความอยากได้ หรือการเบียดเบียนผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีรายได้น้อย กว่าอยู่แล้ว หากแต่ควรทำตัวเป็นผู้ให้โอกาสเล็กๆ น้อยๆ ตามสมควรและโดนเสมอภาค




































































































































































































































2551-08-25

การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ


การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ



เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า


จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดั่งเช่นการทำงานของคอมพิวเตอร์ถ้าเราใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิด ถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎี พบว่า " สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์ " ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริงทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะว่า เราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราเรียนรู้ช้า และปัจจัยอะไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ? เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจคันพบตัวเองก็ได้


ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า?


เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจาก คนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจนคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ


ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว?


1. เปลี่ยนความคิดจาก Negative >>> Positive

- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย : ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น

- ต้องรู้ระบบความคิดของเราก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น - ตัดความคิดในทางNegativeทิ้งแล้วใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ,ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น


2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ

จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ การสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว


3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด

ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากพูดคุยกับผู้อื่น, การอ่าน, ต้องคิดหา logic ด้วยตัวเอง, ต้องเห็นด้วยตา--ฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้นจำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า• รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว?• ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด--กระตือรือร้นสูงสุด


4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง

จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม, การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะ สูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

นอกจากจะทำให้เรามีความสดชื่น กระตือรือร้น แล้วเมื่อเราออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมอง function ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้เราใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วนได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว


6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง

การทำงานของสมองในส่วนความจำจะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้• ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า• ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย• จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอนทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้?ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดีจากการพูดคุย หรือจากการอ่าน เป็นต้น


วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้


1. การสร้างความจำ

ทางกายภาพสมองมนุษย์เราสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ภายในเวลา 1 / 1000 วินาที และโดยรู้ตัวหรือไม่ ข้อมูลที่เราได้รับจะอยู่ภายในสมองเราครบถ้วน เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจากการ " การลืม " ทุกครั้งที่เราได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10 %จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเราคำถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจำข้อมูลที่เราอยากจำได้ ?1. จดบันทึก (take note) : เป็นการสั่งสมองให้จำข้อมูล2. สร้างภาพ : เพื่อช่วยให้มีความจำดีขึ้น ภาพที่สร้างควร• ขนาดใหญ่กว่าความจริง• ขยับมาก มีสีสัน ความรู้สึกรุนแรง• เกินความจริง เช่น ลิงพูดได้ เป็นต้น


2. การอ่าน

Information is power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่งและอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรกคือ ถามตัวเองก่อนกว่า " เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้ "


เทคนิคในการอ่านเร็ว


1. ควรอ่านไม่มีเสียงในใจ

2. การอ่านจับใจความสำคัญ : เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย• เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา key concept >> ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านรึเปล่า เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง >> อ่านเจาะประเด็น ก็ทำให้เราไม่เสียเวลาอ่านทุกหน้า

3. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่านคือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถวัดได้จาก เช่น เป็นข้อมูลที่ up date หรือไม่, สำนักพิมพ์อะไร เป็นต้น


3. การฟัง

ตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมองของเรา ถ้าเราได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูก Memory ในสมองของเรา ซึ่งมีกลวิธีดังนี้

1. ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่ความน่าเชื่อถือ: น่าเชื่อถือ แต่ไม่ชอบพูดเทคนิค: ตั้งคำถาม หรือพูดยั่วยุแต่สุภาพ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อกระตุ้นให้เขาพูด เป็นต้น

น่าเชื่อถือ แต่พูดไม่ตรงประเด็น ให้ถามอย่างสุภาพว่า ประเด็นที่กำลังพูดคืออะไร? ช่วยสรุปให้ฟังสัก 2 ประโยคได้มั้ย? ถ้าไม่น่าเชื่อถือให้เราฟังตามมารยาทสังคม

2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า " ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร "

3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่ หรือไม่ใช่

4. การคิด คนที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องที่มีประโยชน์ โดยมีระบบความคิดทั้งหมด 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. Think objectively คิดอย่างเป็นกลาง--เห็นความจริงตรงตามความจริง

2. Think productively คิด ตัดสินใจโดยมองที่ "ผล" เมื่อเจอสถานการณ์หนึ่ง แล้วสามารถคิดพิเคราะห์ถึงผลทั้งด้านบวกและลบที่จะตามมา

3. Think positively คิดหาทางแก้ปัญหาเมื่อพบอุปสรรคก็ยังสามารถคิดหาทางพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

4. Think creatively ความคิดที่สร้างเหตุและปัจจัยอันใหม่ เพื่อสร้างอนาคตของตัวเองความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชินกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจสร้างได้โดยการถามตัวเองว่า "ทำอย่างไรจึงจะทำงานของเราได้ดีกว่าเดิม?"

5. Think intuitively เป็นความคิดที่ได้มาจากการถามความรู้สึกภายใน
6. Think about the mode คิดเกี่ยวกับความคิดตัวเอง วิพากษ์วิจารณ์ความคิดตัวเองว่าคิดเป็นระบบหรือไม่ บิดเบือนความจริงหรือไม่ คิดด้วยอารมณ์รึเปล่า: นักคิดระดับโลกต้องคิดอยู่เหนืออารมณ์


____________________________________
**ความสงบของจิตไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องหยุดการทำงานทุกสิ่งเข้าป่า หาที่สงบเพื่อที่จะได้ปฏิบัติ ความสงบที่แท้จริงนี้เราควรหาพบในกิจกรรมการงานต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา**

อ้างอิง http://larndham.net/index.php?showtopic=30689&st=6&#top

2551-08-24

มารยาทดีๆ ในที่ทำงาน

หลากมารยาทดีๆ ในที่ทำงาน



การรู้จักกาลเทศะ มีมารยาทและวางตัวดีในที่ทำงานจะช่วยให้การงานราบรื่น ช่วยผ่อนความเครียดที่อาจเกิดจากคนรอบข้างได้ มันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยคะกับการทำงานกับคนมากมายทุกๆ วันโดยที่คนเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อนหรือคนที่รู้จักคบหากันมาก่อน ดังนั้นการเรียนรู้มารยาท และการวางตัวในที่ทำงาน ก็จะช่วยให้การงานราบรื่นขึ้น



1. ควรทำตัวอย่างไรในการแนะนำตัว
คุณควรรอให้อนุญาติให้นั่งเสียก่อนแล้วจึงนั่งลง หากได้รับคำถามว่าดื่มชา กาแฟมั้ยก็ควรตอบรับเพื่อช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ที่สำคัญคืออย่าไปสาย ควรตรงต่อเวลาและให้เวลากับการแนะนำตัวเองอย่างไม่จำกัดเวลาแม้ว่าคุณอาจพลาดกับรถเที่ยวต่อไปก็ตาม เพราะหากคุณบอกว่า "ดิฉันต้องไปแล้วค่ะ" นั่นอาจหมายถึงว่าคุณต้องลาจากชั่วนิรันดร์



2.พนักงานใหม่ควรวางตัวอย่างไร
หากคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับผู้ร่วมงานในที่ทำงานใหม่ก็อย่าเพิ่งกังวล คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที แรกๆ คุณควรศึกษากฎระเบียบเสียก่อนและสังเกตุขนบธรรมเนียมและมารยาทในที่ทำงานใหม่เพราะคุณอาจทำงานได้ดีมากแต่อาจทำผิดสังคมในที่ทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเลี้ยงฉลองอะไรในวันแรก แต่ให้ผ่านช่วงทดลองงานไปก่อน



3. ทำอย่างไรดีกับเพื่อนร่วมงาน
คุณจัดการกับโต๊ะทำงานของตัวเองได้ แต่ไม่ควรยุ่งกับโต๊ะทำงานของคนอื่น และไม่ควรเอาของใช้ เช่น กระเป๋าหรือสิ่งของไปวางในพื้นที่ทำงานแม้ว่าคุณอยากจะโชว์ให้เพื่อนร่วมงานเห็นก็ตาม นอกจากนี้ความเครียดจะเกิดขึ้นถ้าคุณเอาตัวไปเบียดใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานเพราะมนุษย์ส่วนมากมักมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างกันหนึ่งช่วงแขน กฎในออฟฟิศอีกอย่างก็คือ เมื่อคุณจะไอหรือจามก็ควรออกนอกห้อง



4. หลีกหนีเพื่อนร่วมงานจอมเมาท์อย่างไรดี
ขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์อยู่แล้วเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเข้ามาป้วนเปี้ยนในห้องคุณและคอยจับผิด ให้คุณถามว่า มีอะไรให้ช่วยมั้ยคะ หรือบอกว่า เดี๋ยวคุณจะตามไป หรือบอกไปว่าคุณกำลังสะสางงานอย่างเร่งด่วนอยู่ หากคุณเห็นว่าไม่เหมาะที่จะทำตัวสนิทสนมด้วยก็ให้รักษาระยะห่างไว้



5. จำเป็นต้องไปสรวลเสเฮฮาหลังเลิกงานด้วยมั้ย
หากเพื่อนร่วมงานชวนคุณไปดื่มหรือเข้าร้านอาหารหลังเลิกงาน แต่คุณไปไม่ได้ก็ควรกล่าวคำขอโทษ เช่น "ขอบคุณที่ชวนนะคะ แต่บังเอิญติดธุระ" และหากคุณไปด้วยก็ควรอยู่ด้วยอย่างน้อยที่สุด 15 นาที



6. ทำอย่างไรดีเมื่อถูกจับได้ว่านินทาคนอื่น
คุณกำลังนินทาเรื่องไม่ดีของผู้ร่วมงานคนหนึ่งอยู่โดยที่เธอยืนอยู่ข้างหลังคุณ ดังนั้นคุณจึงควรกล่าวคำขอโทษและบอกว่า คุณไม่ได้หมายถึงอย่างที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจของคุณด้วยการช่วยเหลือเธอ เปิดเผยและซื่อสัตย์



7. เจอเพื่อนร่วมงานกลางทาง
ให้คุณเดินไปหาและทักทาย หากคุณไม่แน่ใจว่าเพื่อนร่วมงานอยากจะทักคุณหรือไม่ ก็ให้คุณพยายามสบตาด้วย หากเธอมองไปทางอื่นก็แสดงว่าเธอไม่อยากทักทายคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ใกล้ประตูรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็ให้หยุดรอตอนขาลงและทักทายเธอ คุณก็จะได้เพื่อนร่วมทาง หรือหากคุณไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยก็ต้องขึ้นรถเช้ากว่านี้เพื่อไม่ต้องเจอกัน
ในลิฟต์ บางคนกลัวการอยู่ในที่แคบ เช่น ในลิฟต์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กลัวการอยู่ในที่แคบและเจอผู้ร่วมงานในลิฟต์ก็ควรทักทายแล้วจะหันหน้าไปทางประตูลิฟต์ก็ไม่มีใครว่าและควรถามคนอื่นด้วยว่าอยู่ชั้นไหนแล้วกดลิฟต์ให้ด้วย



8. ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือเข้าที่ประชุม
เพราะมันมักรบกวนห้องประชุม หากคุณจำเป็นต้องรอโทรศัพท์สำคัญก็ให้บอกกับทางโน้นว่าในช่วงเวลานี้ คุณติดประชุมไม่อาจรับโทรศัพท์ได้ หรือระหว่างพักการประชุมก็โทรศัพท์ไปหาได้ หากคุณตั้งสัญญาณสั่นสะเทือนไว้ ก็ให้ออกไปพูดนอกห้องประชุม



9. การโต้ตอบอีเมล
ควรตรวจเช็กและตอบอีเมลวันละอย่างน้อยที่สุด 2 รอบ ตอนเช้า กลางวันและที่ดีที่สุดคือตอนเย็น หากคุณไม่สามารถตอบได้ทันที ก็ให้ส่งข้อความสั้นๆ ว่าคุณไม่อยู่ 2-3 วัน และบอกด้วยว่าคุณจะอยู่ในออฟฟิศอีกครั้งเมื่อไหร่ นอกจากนี้ก็ควรเขียนอีเมลอย่างระมัดระว้ง ถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด และบันทึกไว้อย่างมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้หาได้ง่ายเมื่อต้องการค้นหา ไม่ควรใช้คำย่อ มีคำขึ้นต้นและลงท้ายอย่างมีมารยาท




ข้อมูลจาก ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต ประจำวันที่ 24 เดือนมีนาคม พ.ศ.2551

2551-08-16

อาหารจานเดียว

อาหารจานเดียว


อาหารจานเดียวเป็นอาหารครบเครื่องปรุงครบคุณค่าห้าหมู่ในจานเดียว แป้งมีทั้งข้าวสารพัดอย่างเนื้อสัตว์ก็หลากหลาย ผักในครัวประดามีใช้ปรุงได้หลากหลากรสหลากสไตล์ ทั้งอาหารไทย อาหารจีน อาหารฝรั่ง ปรุงเสร็จสรรพเสิร์ฟมาร้อนๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ข้าวเป็นเครื่องปรุงพื้นฐานของการกินอาหารจานเดียวครบรสประเภทข้าว ดังนั้นการเลือกใช้ข้าวต้งพิถีพิถัน ข้าวเป็นส่วนที่เป็นหัวใจของอาหาร ถ้าข้าวอร่อยเสียอย่างอาหารที่ปรุงมากินกับข้าวจะอร่อยยิ่งขึ้น ถ้าข้าวอร่อยเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารจานเดียวไม่ว่าจานใดๆ อาหารจานนั้นจะอร่อยเป็นพิเศษ ดังนั้น ไม่ว่าจะกินเองหรือทำการค้า อย่าประหยัดเรื่องข้าวเพราะจะทำให้คุณขาดโอกาสในการค้าไปด้วย ผู้กินจะไม่ติดใจประทับใจในอาหารจานนั้น แล้วยังอาจรู้สึกติดลบในการกินอาหหารจานฝีมือคุณ
ข้าวผัด ข้าวราด ข้าวคลุก ข้าวราดกับ เสิร์ฟได้โดยใช้ข้าวสวยที่หุงเป็นปกติ คำนึงถึงชนิดของข้าวด้วย ที่เมื่อหุงแล้วต้องนิ่มพอดี มีความหอม มีความใหม่จึงจะทำให้จานข้าวสารพัดอย่างปรุงออกมาได้อร่อย ส่วนข้าวผัดใช้ข้าวสวยที่เหลือค้างหม้อมาผัด หรือหุงขึ้นมาใหม่ต้องเป็นข้าวสารเก่า เพราะหุงแล้วจะได้ข้าวสวยที่เป็นเม็ดสวย ไม่มียางข้าวมากจนทำให้ข้าวเหนียวเม็ดติดกัน ข้าวสารแต่ละพันธุ์แต่ละชนิดหุงแล้วได้คุณภาพข้าวสวยแตกต่างกัน ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่หุงแล้วได้เม็ดสวย นุ่ม กลิ่นหอม แต่ไม่ขึ้นหม้อ(ข้าวหุงขึ้นหม้อหมายความว่าข้าวสารหุงแล้วได้เป็นข้าวสวยในปริมาณมาก) ถ้าเป็นข้าวสารพันธุ์เสาไห้ เมื่อหุงแล้วแม้จะนุ่ม หอม แต่ก็สู้ข้าวหอมมมะลิไม่ได้แต่หุงแล้วขึ้นหม้อดี ดังนั้นการเลือกข้าวสารนั้นก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งาน ถ้าทำกินกันที่บ้านหรือเลี้ยงเพื่อน เลี้ยงแขก ควรเป็นข้าวหอมมะลิ แต่ถึงแม้จะทำเพื่อการต้าขายก็ควรใช้ข้าวพันธุ์ดี เพราะเมื่อปรุงแล้วจะอร่อยเป็นพิเศษ ทำให้ลูกค้าติดใจและแวะเวียนมาอีกบ่อยๆ




ขอแนะนำวิธีการปรุงอาหารจานเดียว








ข้าวผัดกุ้ง
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแชบ๊วยแกะเปลือกไว้หางผ่าหลัง 6 ตัว
ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ 2 ฟอง
ข้าวสวย 2½ ถ้วย
ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 1½ ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
พริกไทยป่น ½ ช้อนชา, ต้นหอมซอย 2 ต้น
ต้นหอมและยอดโหระพาสำหรับตกแต่ง

วิธีการปรุง
1. ตั้งกระทะบนไฟกลางจนร้อน ใส่น้ำมันกับกระเทียมลงเจียวพอใกล้เหลือง ใส่กุ้งผัดพอสุกต่อยไข่ไก่ ใช้ตะหลิวเขี่ยไข่ไก่ให้แตกพอไข่เริ่มสุก ใส่ข้าวสวย เร่งเป็นไฟแรงผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ซีอิ๊วขาว และน้ำตาล ผัดสักครู่พอทั่ว ปิดไฟ
2. ตักใส่จาน ตกแต่งด้วยต้นหอมและยอดโหระพา โรยพริกไทยป่นและต้นหอมพร้อมเสิร์ฟ





ข้าวผัดกะเพราคลุก
กระเทียมไทย 20 กรัม, พริกขี้หนูสีแดง 25 เม็ด
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ, เนื้อไก่สับหยาบ 200 กรัม
น้ำมันหอย 2½ ช้อนโต๊ะ, ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา, น้ำปลา 2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา, น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ
กะเพราเด็ดใบ ¼ ถ้วย, ข้าวสวย 3 ถ้วย
ใบกะเพราทอดกรอบสำหรับตกแต่ง, หริกน้ำปล่า


วิธีการปรุง
1.โขลกกระเทียมและพริกขี้หนูเข้าด้วยกันพอหยาบ ตักใส่ถ้วย พักไว้
2.ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางร้อน ใส่เครื่งที่โขลก ผัดให้หอม ใส่เนื้อไก่สับ ผัดพอสุกทั่วปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำปลา น้ำตาล เติมน้ำ ผัดพอทั่ว ใส่ใบกะเพราเร่งเป๋นไฟแรง ใส่ข้าวสวย ผัดให้เข้ากันและแห้งมีกลิ่นหอมปิดไฟ
3.ตักใส่จานหรือชาม ตกแต่งด้วยใบกะเพราทอดกรอบ เสิร์ฟร้อนๆ กับพริกน้ำปลา







ข้าวผัดสีม่วง
ไข่ไก่ 1 ฟอง, น้ำมันพืช ¼ ถ้วย
กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
เนื้อหมูส่วนสะโพกหั่นชิ้นเล็ก ½ ถ้วย
กะปิ 1½ ช้อนโต๊ะ, น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ, กุ้งแห้งโขลก ¼ 5h;p
ข้าวสวย 3½ ถ้วย, แตงกวาหั่นแว่น 2 ลูก, มะนาวหั่นชิ้น 1 ลูก
มะม่วงเปรี้ยวดิบสับ ¼ ถ้วย, หอมแดงซอย 4 หัว, ผักชีซอย 1 ต้น
กะหล่ำปลีม่วงสำหรับรองจาน
พริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นฝอยสำหรับตกแต่ง



วิธีการปรุง
1. ต่อยไข่ใส่ถ้วย ตีให้เข้ากัน ตั้งกระทะบนไฟอ่อน ใส่น้ำมันเล็กน้อยกรอกให้ทั่วกระทะ เทไข่ลงกรอกเป็นแผ่น พอสุกตักขึ้นม้วนแล้วหั่นเป็นเส้นฝอย ใส่จานพักไว้
2. ตั้งกระทะน้ำมันที่เหลือบนไฟกลาง ใส่กระเทียมลงเจียวพอใกล้เหลือง ใส่เนื้อหมู ผัดพอสุก ละลายกะปิกับน้ำเล็กน้อยใส่ลงไป ผัดให้ทั่วและมีกลิ่นหมอ ปรุงด้วยน้ำตาล น้ำปลา ใส่กุ้งแห้ง ผัดให้เข้ากัน ใส่ข้าวสวยผัดให้ทั่วและแห้ง ปิดไฟ
3. ตักใส่จานที่รองด้วยกะหล่ำปลีสีม่วง วางแตงกวาและมะนาวข้างๆ โรยมะม่วงสับ หอมแดง และไข่ฝอย ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นฝอย เสิร์ฟ





ข้าวผัดปลาทู
น้ำมันพืช 1 ถ้วย, ปลาทูนึ่ง 1 ตัว
ตะไคร้ซอย 1 ต้น, ใบมะกรูดซอย 2 ใบ
หอมแดงซอย 2 หัว, พริกขี้หนูซอย 5 เม็ด
ไข่ไก่ 1 ฟอง, ข้าวสวย 1 ถ้วย
น้ำปลา ½ ช้อนโต๊ะ, ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา, พริกไทยป่น ¼ ช้อนชา
ต้นหอมและผักชีซอยรวมกัน 2 ช้อนโต๊ะ
มะนาวหั่นชิ้น 1 ลูก, แตงกวาหั่นแฉลบ 1 ลูก
ผักกาดแก้ว ต้นหอม และมะเชือเทหั่นชิ้นสำหรับตกแต่ง


วิธีการปรุง
1. ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลาง ใส่ปลาทูลงทอดจนสุกเหลืองทั้งสองด้านตักขึ้นแกะเอาแต่เนื้อใส่จานไว้
2. ตักน้ำมันที่ทอดปลาออกให้เหลือ 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดงและพริกขี้หนู ผัดพอหอม ใส่เนื้อปลาทูทอด ผัดพอเหลืองใช้ตะหลิวเขี่ยส่วนผสมไว้ข้างกระทะ ต่อยใส่ไข่ ใช้ตะหลิวเขี่ยไข่แดงให้แตกพอไข่เริ่มสุก ผัดเครื่องทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ใส่ข้างสวยปรุงรสด้วยน้ำเปล่า ซอสปรุงรส น้ำตาลและพริกไทย เร่งไฟให้แรงขึ้นผัดสักครู่พอมีกลิ่นหอม ปิดไฟ ใส่ต้นหอมและผักชี ผัดเคล้าให้เข้ากัน
4. ตักใส่จานหรือชาม วางมะนาวและแตงกวาข้างๆ ตกแต่งด้วยผักกาดแก้ว ต้นหอมและมะเขือเทศหั่นชิ้น เสิร์ฟ




ข้าวผัดสับปะรด
หัวกะทิ ¼ ถ้วย, ผงกะหรี่ 2 ช้อนชา
ปลาหมึกกล้วยบั้งตาตารางหั่นชิ้น 2 ตัว
สับปะรดหั่นลูกเต๋าขนาด 2ซม. ½ ถ้วย
แครอทหั่นแว่น ½ ถ้วย, ไข่ไก่ 1 ฟอง
ข้าวสวย 3½ ถ้วย, แฮมหั่นชิ้นสี่เหลี่ยม ½ ถ้วย
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา, ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอด ½ ถ้วย
หมูหยอง ½ ถ้วย, มะนาวหั่นชิ้น 1 ลูก, ต้นหอมสำหรับตกแต่ง
สับปะรดผ่าครึ่งลูดตามยาวตักเอาเนื้อออกสำหรับเป็นภาชนะ


วิธีการปรุง
1. เคี่ยวหัวกะทิในกระทะด้วยไฟกลางจรแตกมัน ใส่ผงกระหรี่ผัดพอหอมใส่ปลาหมึก สับปะรดและแครอท ผัดพอทั่วต่อยไข่ใส่ ใช้ตะหลิวเขี่ยไข่แดงให้แตก พอไข่เริ่มสุกใส่ข้าวสวย เร่งไฟให้แรงขึ้น ผัดให้เข้ากัน ใส่แฮม ปรุงด้วยน้ำปลาและซีอิ๊วขาว ผัดให้เข้ากันทั่ว ปิดไฟ
2. ตักใส่จานหรือผลสับปะรด โรยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดและหมูหยอง ตกแต่งด้วยต้นหอม เสิร์ฟกับมะนาว





ข้าวผัดอเมริกัน
น่องไก่ 2 น่อง
แป้งสาลีอเนกประสงค์ ¼ ถ้วย
ไข่ไก่ตีพอเข้ากัน 1 ฟอง
เกล็ดขนมปังป่น ½ ถ้วย, น้ำมันพืช 2 ถ้วย
ไส้กรอกหั่นท่อนผ่าปลาย 4 แฉก 4 ชิ้น
เนยสด 2 ช้อนโต๊ะ, หอมใหญ่สับ 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนโต๊ะ, ข้าวสวย 2 ถ้วย, ลูกเกดดำ 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น ¼ ช้อนชา, พริกไทยป่น ¼ ช้อนชา
ไข่ไก่ 2 ฟอง, แฮมลวก 2 แผ่น
แตงกวา แครอทและผักกาดหอมสำหรับตกแต่ง


วิธีการปรุง
1. ทำไก่ทอดโดยล้างน่องเคล้ากับเกลือป่นและพริกไทยป่นเล็กน้อย คลุกแป้งสาลีให้ทั่วแล้วชุบไข่และคลุกเกล็ดขนมปังให้ทั่ว ใส่ลงทอดในกระทะน้ำมันร้อนด้วยไฟกลางจนสุกเหลือง ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน ใส่ไส้กรอกลงทอดต่อพอสุก ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน
2. ตั้งกระทะบนไฟกลาง ใส่เนยพอเนยละลายใส่หอมใหญ่ ผัดพอสุก ใส่ซอสมะเขือเทศ ผัดพอทั่ว ใส่ข้าวสวย ลูกเกดผัดให้ทั่ว โรยเกลือและพริกไทย ผัดอีกครั้งพอทั่ว ปิดไฟ
3. ตั้งกระทะบนไฟอ่อนพอร้อนจุ่มพิมพ์ไข่ดาวในน้ำมันแล้ววางตรงกลาง ต่อยไข่ใส่ตรงกลางพิมพ์ รอให้ไข่ขาวตึงตัวแต่ไข่แดงยังไม่สุก เอาพิมพ์ออกปิดไฟ
4. ตักข้าวอเมริกันใส่จาน วางไก่ทอดใส้กรอกทอด ไข่ดาวและแฮมข้างๆ ข้าว ตกแต่งด้วยแตงกวา แครอทและผักกาด เสิร์ฟ